วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง

Inside Out


สรุปหนังเรื่อง Inside Out
Inside out การ์ตูนสีสวย หลากสีสัน เป็นเรื่องราวของไรลีย์ เด็กสาวผู้มีความสุขในชีวิต ครอบครัวที่อบอุ่น มิตรภาพ กีฬาที่ยอดเยี่ยม อารมณ์ดี ทั้งหมดประสานออกมาเป็นบุคลิกภาพของเด็กหญิงคนหนึ่งที่สดใสสวยงาม ซึ่งเบื้องหลังของอารมณ์และบุคลิกนี้มี เจ้าอารมณ์ 5 ตัว ในสมองคอยควบคุมให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่น
- จอย (Joy)  คอยทำให้ไรลีย์มีความสุข
          - แองกรี้ (Anger) แสดงความเกรี้ยวกราด
          - ดิสกัต (Disgust) แสดงความรังเกียจและแอนตี้สิ่งของที่ไม่ชอบ
          - เฟียร์ (Fear) แสดงความหวาดกลัวและหวั่นอันตราย
          - แซดเนส  (Sadness)  แสดงความเศร้า
           การเติบโตอาจไม่ใช่เรื่องง่าย และนั่นก็ไม่มีข้อยกเว้นสำหรับ "ไรลีย์" ที่เติบโตขึ้นมาจากชีวิตแบบตะวันตกตอนกลาง เมื่อพ่อของเธอต้องเริ่มงานใหม่ในซานฟรานซิสโก เช่นเดียวกับเราทุกคน ไรลีย์ถูกชักนำด้วยอารมณ์ต่าง ๆ ของเธอ ความสุข, ความกลัว, ความโกรธ, ความน่ารังเกียจ และความเศร้า อารมณ์ทั้งหมดอาศัยอยู่ในศูนย์บัญชาการใหญ่ ศูนย์ควบคุมกลางภายในจิตใจของไรลีย์ ที่ซึ่งพวกเขาคอยช่วยแนะนำเธอให้ผ่านชีวิตในแต่ละวันได้
          เมื่อไรลีย์และเหล่าอารมณ์ของเธอต้องต่อสู้กับการปรับตัวเพื่อชีวิตใหม่ในซานฟรานซิสโก ความโกลาหลจึงเกิดขึ้นในศูนย์บัญชาการใหญ่ ถึงแม้ว่าความสุข อารมณ์หลัก และอารมณ์ที่สำคัญที่สุดของไรลีย์พยายามที่จะทำทุกอย่างให้ดีขึ้น ความขัดแย้งทางอารมณ์ก็ได้เกิดขึ้นต่อการที่จะใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหม่ บ้าน และโรงเรียนในที่สุด เพราะทุกๆอารมณ์และความรู้สึกนั้นสำคัญ แม้ความสุขจะทำให้เรายิ้มได้ ทำให้เรามองโลกในแง่ดีแต่ความเศร้าบางครั้งทำให้จิตใจเราอ่อนโยนขึ้น และสามารถเข้าใจคนอื่นมากขึ้น
ได้อะไรจากหนังเรื่อง Inside Out
1. ได้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงคือธรรมชาติของชีวิต จงเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอีกหลายๆ ครั้ง ที่รออยู่ในวันข้างหน้า
2. ความสุขไม่ใช่การเริงร่าอยู่ตลอดเวลา
3. ความเศร้าสอนให้เราเห็นอกเห็นใจผู้อื่นความเข้าอกเข้าใจในความทุกข์ของคนอื่น
4. ความสุขมักจะปนมากับความเศร้าอยู่เสมอ
5. ความโกรธคือพลัง แต่ต้องระวังเอาไว้ให้ดี คนเราไม่จำเป็นต้องอดทนต่อสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เมื่อใช้อย่างเหมาะสม ความโกรธ ก็คือ พลังงานชั้นดีที่ช่วยปลุกเราให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม และบรรลุเป้าหมายต่างๆ ในชีวิตได้
6. บางครั้งเราก็ต้องปล่อยวาง "อดีต" ไปบ้างในทุกช่วงวัย ชีวิตจะพาเราเดินไปข้างหน้าอยู่เสมอ และบางครั้ง เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะทิ้งอดีตเอาไว้ข้างหลังบ้าง เพื่อให้ใจเราเบาพอที่จะก้าวต่อไปในอนาคตให้ได้
7. ประสบการณ์ใหม่ๆ ช่วยให้เราได้เติบโต
8. "ความรัก" ช่วยเราได้ในวันที่เราอ่อนแอ ในช่วงเวลาที่อ่อนแอ บางครั้งสิ่งที่เราต้องการมากที่สุดก็คือ ใครบางคนที่รักและห่วงใยเรา และไม่ว่าช่วงเวลานั้นจะยากลำบากสักแค่ไหน แต่เราก็ย่อมผ่านมันไปได้ ด้วยกำลังใจจากคนที่เรารัก


การเปรียบเทียบหนัง Inside Out  กับทฤษฎีเชาวน์ปัญญา
1.ทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget) 
   สิ่งที่สอดคล้องกับทฤษฎีของเพียเจต์ คือ เมื่อไรลีย์ลืมตาดูโลกและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ไรลีย์ก็สามารถมีความคิดที่ซับซ้อนและมีเหตุผลมากยิ่งขึ้นกว่าตอนเป็นเด็ก เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งการซึมซาบประสบการณ์และการตีความต่างๆ ตั้งแต่ตอนเด็กๆ ซึ่งตามทฤษฎีของเพียเจต์ก็มีการแบ่งพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กออกเป็นช่วงอายุ และแสดงให้เห็นว่าเมื่อเด็กเจริญเติบโตขึ้นก็จะมีพัฒนาการทางความคิดที่มากขึ้นและดีขึ้นเรื่อยๆ    
2.ทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner) 
   สิ่งที่สอดคล้องกับทฤษฎีของบรูเนอร์ คือ  ไรลีย์จะแสดงพัฒนาการทางสมองด้วยการกระทำ และดำเนินต่อไปเรื่อยๆตลอดชีวิต เป็นวิธีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยการจับต้อง เช่น ผลัก ดึง จับ การเล่นกีฬาของไรลีย์ นอกจากใช้ประสาทสัมผัสแล้วเด็กยังสามารถถ่ายทอดด้วยภาพในใจของเค้า เมื่อไรลีย์สามารถที่จะสร้างจินตนาการได้ เด็กก็สามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ในโลกได้
3.ทฤษฎีของออซูเบล (Ausubel) 
   สิ่งที่สอดคล้องกับทฤษฎีของออซูเบล คือ  ในตอนที่มีตัวการ์ตูนเป็นเสมือนคนดูแลทำความสะอาดในเรื่องของความทรงจำ ถ้าความทรงจำไหนไม่เป็นประโยชน์ก็จะถูกทิ้งลงถังขยะไป ก็เปรียบเสมือนคนเราตามทฤษฎีของออซูเบล ที่กล่าวว่า “ถ้าสิ่งนั้นไม่สร้างความหมายให้ต่อผู้เรียนสิ่งนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์”
4.ทฤษฎีของคลอสไมเออร์(Klausmeier) 
   สิ่งที่สอดคล้องกับทฤษฎีของคลอสไมเออร์ คือ ความทรงจำตอนแรกก็จะเก็บเป็นความทรงจำระยะสั้น หลังจากนั้น ถ้ามันเป็นสิ่งที่สำคัญต่อเราเราก็จะจำและจะเก็บเป็นความทรงจำระยะยาว เหมือนในหนัง ที่มีการเก็บความทรงจำของไรลีย์แทนลูกแก้วที่ใช้เก็บความทรงจำและเมื่อครบในแต่ละวันก็จะเอาไปเก็บเป็นความทรงจำระยะยาวต่อไป

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม
(Behavioral  Theories)
          กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorihm หรือ S-R Associationism) มุ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response) หรือพฤติกรรมที่แสดงออกมา ซึ่งจะให้ความสนใจกับพฤติกรรมที่สามารถวัดและสังเกตจากภายนอกได้ และเน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมเพราะเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวที่กำหนดพฤติกรรม ในแนวคิดของกลุ่มนี้จะเชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง หรือการแสดงพฤติกรรมนิยม และถ้าหากได้รับการเสริมแรงจะทำให้มีการแสดงพฤติกรรมนั่นถี่มากขึ้น นอกจากนี้ ตามแนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อม หรือเกิดจากการฝึกหัด
          นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมที่สำคัญ และเป็นผู้ที่ผลงานได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา ได้แก่ Pavlov, Watson, Thorndike และ Skinner และนักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้แบ่งพฤติกรรมของมนุษย์ออกเป็น ประเภท ใหญ่ๆ คือ
          1. พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ (Respondent Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าเมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถจะสังเกตได้ ทฤษฎีที่อธิบายกระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory) นักจิตวิทยาที่ศึกษาพฤติกรรมเรสปอนเดนต์ ได้แก่ 
Pavlov และ Watson
          2. พฤติกรรมโอเปอแรนต์ (Operant Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย Operant Behavior เรียกว่า ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นว่าต้องการให้ Operant Behavior คงอยู่ตลอดไป นักจิตวิทยาที่ศึกษาพฤติกรรมโอเปอแรนต์ ได้แก่ 
Thorndike และ Skinner ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญ ได้ดังต่อไปนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory) 
          1. แนวคิดของพาฟลอฟ (Pavlov)
   พาฟลอฟสนใจศึกษาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยได้ทำการ-ทดลองกับสุนัข โดยก่อนที่จะให้อาหารแก่สุนัขจะต้องสั่นกระดิ่งก่อน แล้วตามด้วยอาหาร (ผงเนื้อ) ทำอย่างนี้อยู่ 7–8 วัน จากนั้นให้เฉพาะแต่เสียงกระดิ่ง สุนัขก็ตอบสนองคือน้ำลายไหลปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่าพฤติกรรมสุนัขถูกวางเงื่อนไขหรือเรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค


ภาพที่ การทดลองของพาฟลอฟ

จากหลักการข้างต้นสามารถสรุปหลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟ ดังนี้

การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข = การเรียนรู้

2. แนวคิดของวัตสัน (Watson)
   วัตสันเป็นบิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม ซึ่งได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกกับมนุษย์ โดยศึกษาเรื่องความกลัว ซึ่งสรุปผลการทดลองกับทารกอายุ 8-9 เดือน ซึ่งโดยธรรมชาติของเด็กเล็กๆจะกลัวเสียงที่ดังขึ้นอย่างกะทันหัน แต่มักจะไม่กลัวสัตว์เลี้ยงประเภทหนูหรือกระต่าย โดยวัตสันได้ปล่อยให้ทารกเล่นกับหนู ในขณะที่ทารกเอื้อมมือไปจับหนูให้ผู้ทดลองใช้ฆ้อนเคาะแผ่นเหล็กให้เกิดเสียงดังขึ้นเมื่อทำติดต่อกัน7ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ปรากฏว่าหลังจากนั้นเพียงทารกเห็นหนูทารกก็จะแสดงความกลัวทันที
   ต่อมาวัตสันได้แก้ความกลัวหนูของทารกด้วยการให้มารดาของทารกอุ้มในขณะที่ผู้ทดลองยื่นหนูให้ทารก ตอนแรกทารกจะร้องไห้กลัวแต่หลังจากที่แม่ปลอบว่าไม่มีอะไรน่ากลัว พร้อมกับแม่ลูบตัวหนู จนในที่สุดทารกก็เลิกกลัวหนู ซึ่งภายหลังแพทย์ได้นำวิธีการนี้มาใช้รักษาคนไข้ที่มีความกลัวสิ่งแปลกๆ


                                                         ภาพที่ การทดลองของวัตสัน

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant Conditioning Theory)
          1. แนวคิดของธอร์นไดค์ (Thorndike)
    ธอร์นไดค์เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง อีกทั้งให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง ที่จะทำให้ได้รับการตอบสนองเพิ่มขึ้น โดยเน้นการให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ
ธอร์นไดค์ได้ทำการทดลองโดยจับแมวที่กำลังหิวใส่กรงที่มีสลักปิดไว้ และนำจานอาหารวางไว้นอกกรง ในการทดลองแมวจะเดินไปเดิมมา และพยายามหาทางออกมากินอาหารข้างนอก บังเอิญไปจับสลักทำให้ประตูเปิด แมวสามารถออกมากินอาหารได้ ซึ่งธอร์นไดค์ได้เรียกการเรียนรู้ของแมวว่า "การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก" และจากผลการทดลองทำให้ธอร์นไดค์ได้สรุปเป็นกฏแห่งการเรียนรู้ไว้ดังนี้
1.กฏแห่งผล (Law of Effect)
2.กฏแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
3,กฏแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
4,กฏแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse)


ภาพที่ การทดลองของธอร์นไดค์

2. แนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner)
    ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์ (Operant Conditioning Theory) หรือ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ซึ่งมี สกินเนอร์ (B.F. Skinner) เป็นเจ้าของทฤษฎีสกินเนอร์ได้ทดลองการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์กับหนูโดยนำหนูเข้าไปอยู่ในกล่อง Skinner box และเมื่อหนูกดคานที่อยู่ในกล่องจะมีอาหารหล่นลงมาให้กินพร้อมกับเสียงแกรก จากนั้นหนูจะวิ่งไปวิ่งมาและจะเวียนมาเฝ้ากดคานและวิ่งไปคอยรับอาหาร  แต่ต่อมาสกินเนอร์งดให้อาหารเมื่อหนูกดคานแต่ยังมีเสียงดังแกรกตามปกติ ซึ่งพบว่าหนูจะกดคานต่ออีก 2-3ครั้งเท่านั้นก็เลิกกดไป



ภาพที่การทดลองของสกินเนอร์

สกินเนอร์จึงมีแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขและสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม เพราะทฤษฎีนี้ต้องการเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม สิ่งสนับสนุนและการลงโทษ โดยพัฒนาจากทฤษฎีของ พาฟลอฟ และธอร์นไดค์ โดยสกินเนอร์มองว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่กระทำต่อสิ่งแวดล้อมของตนเอง พฤติกรรมของมนุษย์จะคงอยู่ตลอดไป จำเป็นต้องมีการเสริมแรง ซึ่งการเสริมแรงนี้มีทั้งการเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) และการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement)
การเสริมแรง หมายถึง ผลของพฤติกรรมใด ๆ ที่ทำให้พฤติกรรมนั้นเข้มแข็งขึ้น
          การเสริมแรงทางบวก หมายถึง สภาพการณ์ที่ช่วยให้พฤติกรรมโอเปอแรนท์เกิดขึ้นในด้านความที่น่าจะเป็นไปได้
การเสริมแรงทางลบ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์อาจจะทำให้พฤติกรรมโอเปอแรนท์เกิดขึ้นได้ในการด้านการเสริมแรงนั้น สกินเนอร์ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยได้แยกวิธีการเสริมแรงออกเป็น วิธี คือ
          1. การให้การเสริมแรงทุกครั้ง (Continuous Reinforcement) เป็นการให้การเสริมแรงทุกครั้งที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้
          2. การให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราว (Partial Reinforcement) เป็นการให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราว โดยไม่ให้ทุกครั้งที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยแยกการเสริมแรงเป็นครั้งคราว ได้ดังนี้


วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

คำถามท้ายบทที่ 1


1. MOOCs (Massive Open Online Courses) ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทใด และเพราะอะไร
ตอบ  MOOCs (Massive Open Online Courses) เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทหลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์   เพราะเป็นระบบเปิดหรือเรียนได้แบบเสรี โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนเป็นนักเรียนหรือเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น  รองรับผู้เรียนได้อย่างกว้างไกลและรับจำนวนผู้เรียนมากได้ ซึ่งมีความแตกต่างกับการเรียนแบบเดิมๆ ที่รองรับผู้เรียนได้จำนวนน้อยเพราะต้องใช้ครูสอน ซึ่งทำให้มีข้อจำกัดเรื่องอัตราส่วนของครูกับคนเรียน ซึ่ง MOOCs ไม่มีข้อจำกัดนั้น เพราะสามารถรองรับผู้เรียนได้แบบมหาศาล

2. ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาแบ่งออกได้กี่ประเภทและแต่ละประเภทมีข้อดีอย่างไร
ตอบ  ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา มี 5 ประเภทได้แก่
1.นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
ข้อดี คือ เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น
2.นวัตกรรมการเรียนการสอน
ข้อดี คือ เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  การเรียนแบบมีส่วน ร่วม  การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา
3.นวัตกรรมด้านสื่อการสอน
ข้อดี  คือ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน  ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
4.นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล
ข้อดี คือ เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา  ครู อาจารย์
5.นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ
ข้อดี คือ สามารถนำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา 

3. สมมติว่านักศึกษาได้เป็นครูประจำการ นักศึกษาจะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาใดเข้ามาช่วยในการจัดการในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) ของผู้เรียนที่นักศึกษาไปสอนเพราะเหตุใดจึงเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษานั้น
ตอบ  นวัตกรรมการเรียนการสอน  เพราะเป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน เพื่อที่จะตอบสนองการจัดการในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้

4. ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครู จึงต้องเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
ตอบ เพราะครูจะต้องมีความรู้กว้างไกลในเทคโนโลยี โลกสมัยใหม่เต็มไปด้วย IT ครูจะต้องพัฒนาแบบก้าวกระโดดจึงจะทันโลกยุคใหม่ นวัตกรรมจึงเป็นเครื่องมือของครูยุคใหม่ ที่จะต้องพัฒนาตนเองในด้านเทคโนโลยี วิชาการ เพื่อนำนวัตกรรมไปพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้นและยังถือได้ว่า ครูเป็นผู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ และจะต้องมีความคิดที่กว้างไกลมีการใช้สื่อเทคโนโลยีในการสอน และควรคำนึงถึงวัยของผู้เรียนและความเข้าใจในสื่อที่จะนำมาถ่ายทอด

5. นักศึกษายกตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันพร้อมอธิบายข้อดีและข้อจำกัด ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้นๆ มา 1 ประเภท
ตอบ อมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI)  คือ  เทคโนโลยีใหม่ ซึ่งนับวันจะมีบทบาทมากขึ้นใน วงการศึกษาเนื่องจากคุณสมบัติและลักษณะพิเศษ ที่สามารถเอื้ออำนวยในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็เป็นเช่นเดียวกับสื่อประเภทอื่น ๆ ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียในการใช้งานดังนี้
ข้อดีของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
                   1. คอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนให้แก่ผู้เรียน เนื่องจากการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์นั้นเป็นประสบการณ์ที่แปลกและใหม่
                   2. การใช้สี ภาพลายเส้นที่แลดูคล้ายเคลื่อนไหว ตลอดจนเสียงดนตรี จะเป็นการเพิ่มความเหมือนจริงและเร้าใจผู้เรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้ ทำแบบฝึกหัด หรือทำกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ เป็นต้น
                   3. ความสามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการบันทึกคะแนนและพฤติกรรมต่างๆของผู้เรียนไว้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนขั้นต่อไปได
                   4. ความสามารถในการเก็บข้อมูลของเครื่อง ทำให้สามารถนำมาใช้ในลักษณะของการศึกษารายบุคคลได้เป็นอย่างดี โดยสามารถกำหนดบทเรียนให้แก่ผู้เรียนแต่ละคนและแสดงผลความก้าวหน้าให้เห็นได้ทันที
                   5. ลักษณะของโปรแกรมบทเรียนที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้า สามารถเรียนไปตามความสามารถของตนโดยเฉพาะอย่าง ไม่รีบเร่งโดยไม่ต้องอายผู้อื่น และไม่ต้องอายเครื่องเมื่อตอบคำถามผิด
                   6. เป็นการช่วยขยายขีดความสามารถของผู้สอนในการคบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิดเนื่องจากสามารถบรรลุข้อมูลได้ง่ายและสะดวกในการนำมาใช้
            ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
                  1.  ถึงแม้ว่าขณะนี้ราคาเครื่องคอมพิวเตอร์และค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะลดลงมากแล้วก็ตาม แต่การที่จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในวงการศึกษาในบางสถานที่นั้นจำเป็นต้องมีการพิจารณากันอย่างรอบคอบเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายตลอดจนการดูแลรักษาด้วย
                  2.  การออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนนั้นนับว่ายังมีน้อย เมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่น ๆ ทำให้โปรแกรมบทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีจำนวนและขอบเขตจำกัดที่จะนำมาใช้เรียนในวิชาต่างๆ
                  3.  ในขณะนี้ยังขาดอุปกรณ์ที่ได้คุณภาพมาตรฐานระดับเดียวกัน เพื่อให้สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบกัน เป็นต้นว่า ซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของไอบีเอ็มไม่สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของแม็กคินทอชได้
                  4.  การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนเองนั้น นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
                  5.  เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้า จึงมีลำดับขั้นตอนในการสอนทุกอย่างตามที่วางไว้ ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้
                  6.  ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียนตามขั้นตอนทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้




นางสาวรัตติยา  ปากชำนิ  รหัส 553410080117 ปี 4 หมู่ 1
สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา  คณะครุศาสตร์