วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม
(Behavioral  Theories)
          กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorihm หรือ S-R Associationism) มุ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response) หรือพฤติกรรมที่แสดงออกมา ซึ่งจะให้ความสนใจกับพฤติกรรมที่สามารถวัดและสังเกตจากภายนอกได้ และเน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมเพราะเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวที่กำหนดพฤติกรรม ในแนวคิดของกลุ่มนี้จะเชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง หรือการแสดงพฤติกรรมนิยม และถ้าหากได้รับการเสริมแรงจะทำให้มีการแสดงพฤติกรรมนั่นถี่มากขึ้น นอกจากนี้ ตามแนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อม หรือเกิดจากการฝึกหัด
          นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมที่สำคัญ และเป็นผู้ที่ผลงานได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา ได้แก่ Pavlov, Watson, Thorndike และ Skinner และนักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้แบ่งพฤติกรรมของมนุษย์ออกเป็น ประเภท ใหญ่ๆ คือ
          1. พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ (Respondent Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าเมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถจะสังเกตได้ ทฤษฎีที่อธิบายกระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory) นักจิตวิทยาที่ศึกษาพฤติกรรมเรสปอนเดนต์ ได้แก่ 
Pavlov และ Watson
          2. พฤติกรรมโอเปอแรนต์ (Operant Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย Operant Behavior เรียกว่า ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นว่าต้องการให้ Operant Behavior คงอยู่ตลอดไป นักจิตวิทยาที่ศึกษาพฤติกรรมโอเปอแรนต์ ได้แก่ 
Thorndike และ Skinner ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญ ได้ดังต่อไปนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory) 
          1. แนวคิดของพาฟลอฟ (Pavlov)
   พาฟลอฟสนใจศึกษาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยได้ทำการ-ทดลองกับสุนัข โดยก่อนที่จะให้อาหารแก่สุนัขจะต้องสั่นกระดิ่งก่อน แล้วตามด้วยอาหาร (ผงเนื้อ) ทำอย่างนี้อยู่ 7–8 วัน จากนั้นให้เฉพาะแต่เสียงกระดิ่ง สุนัขก็ตอบสนองคือน้ำลายไหลปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่าพฤติกรรมสุนัขถูกวางเงื่อนไขหรือเรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค


ภาพที่ การทดลองของพาฟลอฟ

จากหลักการข้างต้นสามารถสรุปหลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟ ดังนี้

การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข = การเรียนรู้

2. แนวคิดของวัตสัน (Watson)
   วัตสันเป็นบิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม ซึ่งได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกกับมนุษย์ โดยศึกษาเรื่องความกลัว ซึ่งสรุปผลการทดลองกับทารกอายุ 8-9 เดือน ซึ่งโดยธรรมชาติของเด็กเล็กๆจะกลัวเสียงที่ดังขึ้นอย่างกะทันหัน แต่มักจะไม่กลัวสัตว์เลี้ยงประเภทหนูหรือกระต่าย โดยวัตสันได้ปล่อยให้ทารกเล่นกับหนู ในขณะที่ทารกเอื้อมมือไปจับหนูให้ผู้ทดลองใช้ฆ้อนเคาะแผ่นเหล็กให้เกิดเสียงดังขึ้นเมื่อทำติดต่อกัน7ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ปรากฏว่าหลังจากนั้นเพียงทารกเห็นหนูทารกก็จะแสดงความกลัวทันที
   ต่อมาวัตสันได้แก้ความกลัวหนูของทารกด้วยการให้มารดาของทารกอุ้มในขณะที่ผู้ทดลองยื่นหนูให้ทารก ตอนแรกทารกจะร้องไห้กลัวแต่หลังจากที่แม่ปลอบว่าไม่มีอะไรน่ากลัว พร้อมกับแม่ลูบตัวหนู จนในที่สุดทารกก็เลิกกลัวหนู ซึ่งภายหลังแพทย์ได้นำวิธีการนี้มาใช้รักษาคนไข้ที่มีความกลัวสิ่งแปลกๆ


                                                         ภาพที่ การทดลองของวัตสัน

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant Conditioning Theory)
          1. แนวคิดของธอร์นไดค์ (Thorndike)
    ธอร์นไดค์เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง อีกทั้งให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง ที่จะทำให้ได้รับการตอบสนองเพิ่มขึ้น โดยเน้นการให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ
ธอร์นไดค์ได้ทำการทดลองโดยจับแมวที่กำลังหิวใส่กรงที่มีสลักปิดไว้ และนำจานอาหารวางไว้นอกกรง ในการทดลองแมวจะเดินไปเดิมมา และพยายามหาทางออกมากินอาหารข้างนอก บังเอิญไปจับสลักทำให้ประตูเปิด แมวสามารถออกมากินอาหารได้ ซึ่งธอร์นไดค์ได้เรียกการเรียนรู้ของแมวว่า "การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก" และจากผลการทดลองทำให้ธอร์นไดค์ได้สรุปเป็นกฏแห่งการเรียนรู้ไว้ดังนี้
1.กฏแห่งผล (Law of Effect)
2.กฏแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
3,กฏแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
4,กฏแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse)


ภาพที่ การทดลองของธอร์นไดค์

2. แนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner)
    ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์ (Operant Conditioning Theory) หรือ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ซึ่งมี สกินเนอร์ (B.F. Skinner) เป็นเจ้าของทฤษฎีสกินเนอร์ได้ทดลองการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์กับหนูโดยนำหนูเข้าไปอยู่ในกล่อง Skinner box และเมื่อหนูกดคานที่อยู่ในกล่องจะมีอาหารหล่นลงมาให้กินพร้อมกับเสียงแกรก จากนั้นหนูจะวิ่งไปวิ่งมาและจะเวียนมาเฝ้ากดคานและวิ่งไปคอยรับอาหาร  แต่ต่อมาสกินเนอร์งดให้อาหารเมื่อหนูกดคานแต่ยังมีเสียงดังแกรกตามปกติ ซึ่งพบว่าหนูจะกดคานต่ออีก 2-3ครั้งเท่านั้นก็เลิกกดไป



ภาพที่การทดลองของสกินเนอร์

สกินเนอร์จึงมีแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขและสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม เพราะทฤษฎีนี้ต้องการเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม สิ่งสนับสนุนและการลงโทษ โดยพัฒนาจากทฤษฎีของ พาฟลอฟ และธอร์นไดค์ โดยสกินเนอร์มองว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่กระทำต่อสิ่งแวดล้อมของตนเอง พฤติกรรมของมนุษย์จะคงอยู่ตลอดไป จำเป็นต้องมีการเสริมแรง ซึ่งการเสริมแรงนี้มีทั้งการเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) และการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement)
การเสริมแรง หมายถึง ผลของพฤติกรรมใด ๆ ที่ทำให้พฤติกรรมนั้นเข้มแข็งขึ้น
          การเสริมแรงทางบวก หมายถึง สภาพการณ์ที่ช่วยให้พฤติกรรมโอเปอแรนท์เกิดขึ้นในด้านความที่น่าจะเป็นไปได้
การเสริมแรงทางลบ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์อาจจะทำให้พฤติกรรมโอเปอแรนท์เกิดขึ้นได้ในการด้านการเสริมแรงนั้น สกินเนอร์ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยได้แยกวิธีการเสริมแรงออกเป็น วิธี คือ
          1. การให้การเสริมแรงทุกครั้ง (Continuous Reinforcement) เป็นการให้การเสริมแรงทุกครั้งที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้
          2. การให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราว (Partial Reinforcement) เป็นการให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราว โดยไม่ให้ทุกครั้งที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยแยกการเสริมแรงเป็นครั้งคราว ได้ดังนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น