วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง

Inside Out


สรุปหนังเรื่อง Inside Out
Inside out การ์ตูนสีสวย หลากสีสัน เป็นเรื่องราวของไรลีย์ เด็กสาวผู้มีความสุขในชีวิต ครอบครัวที่อบอุ่น มิตรภาพ กีฬาที่ยอดเยี่ยม อารมณ์ดี ทั้งหมดประสานออกมาเป็นบุคลิกภาพของเด็กหญิงคนหนึ่งที่สดใสสวยงาม ซึ่งเบื้องหลังของอารมณ์และบุคลิกนี้มี เจ้าอารมณ์ 5 ตัว ในสมองคอยควบคุมให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่น
- จอย (Joy)  คอยทำให้ไรลีย์มีความสุข
          - แองกรี้ (Anger) แสดงความเกรี้ยวกราด
          - ดิสกัต (Disgust) แสดงความรังเกียจและแอนตี้สิ่งของที่ไม่ชอบ
          - เฟียร์ (Fear) แสดงความหวาดกลัวและหวั่นอันตราย
          - แซดเนส  (Sadness)  แสดงความเศร้า
           การเติบโตอาจไม่ใช่เรื่องง่าย และนั่นก็ไม่มีข้อยกเว้นสำหรับ "ไรลีย์" ที่เติบโตขึ้นมาจากชีวิตแบบตะวันตกตอนกลาง เมื่อพ่อของเธอต้องเริ่มงานใหม่ในซานฟรานซิสโก เช่นเดียวกับเราทุกคน ไรลีย์ถูกชักนำด้วยอารมณ์ต่าง ๆ ของเธอ ความสุข, ความกลัว, ความโกรธ, ความน่ารังเกียจ และความเศร้า อารมณ์ทั้งหมดอาศัยอยู่ในศูนย์บัญชาการใหญ่ ศูนย์ควบคุมกลางภายในจิตใจของไรลีย์ ที่ซึ่งพวกเขาคอยช่วยแนะนำเธอให้ผ่านชีวิตในแต่ละวันได้
          เมื่อไรลีย์และเหล่าอารมณ์ของเธอต้องต่อสู้กับการปรับตัวเพื่อชีวิตใหม่ในซานฟรานซิสโก ความโกลาหลจึงเกิดขึ้นในศูนย์บัญชาการใหญ่ ถึงแม้ว่าความสุข อารมณ์หลัก และอารมณ์ที่สำคัญที่สุดของไรลีย์พยายามที่จะทำทุกอย่างให้ดีขึ้น ความขัดแย้งทางอารมณ์ก็ได้เกิดขึ้นต่อการที่จะใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหม่ บ้าน และโรงเรียนในที่สุด เพราะทุกๆอารมณ์และความรู้สึกนั้นสำคัญ แม้ความสุขจะทำให้เรายิ้มได้ ทำให้เรามองโลกในแง่ดีแต่ความเศร้าบางครั้งทำให้จิตใจเราอ่อนโยนขึ้น และสามารถเข้าใจคนอื่นมากขึ้น
ได้อะไรจากหนังเรื่อง Inside Out
1. ได้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงคือธรรมชาติของชีวิต จงเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอีกหลายๆ ครั้ง ที่รออยู่ในวันข้างหน้า
2. ความสุขไม่ใช่การเริงร่าอยู่ตลอดเวลา
3. ความเศร้าสอนให้เราเห็นอกเห็นใจผู้อื่นความเข้าอกเข้าใจในความทุกข์ของคนอื่น
4. ความสุขมักจะปนมากับความเศร้าอยู่เสมอ
5. ความโกรธคือพลัง แต่ต้องระวังเอาไว้ให้ดี คนเราไม่จำเป็นต้องอดทนต่อสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เมื่อใช้อย่างเหมาะสม ความโกรธ ก็คือ พลังงานชั้นดีที่ช่วยปลุกเราให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม และบรรลุเป้าหมายต่างๆ ในชีวิตได้
6. บางครั้งเราก็ต้องปล่อยวาง "อดีต" ไปบ้างในทุกช่วงวัย ชีวิตจะพาเราเดินไปข้างหน้าอยู่เสมอ และบางครั้ง เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะทิ้งอดีตเอาไว้ข้างหลังบ้าง เพื่อให้ใจเราเบาพอที่จะก้าวต่อไปในอนาคตให้ได้
7. ประสบการณ์ใหม่ๆ ช่วยให้เราได้เติบโต
8. "ความรัก" ช่วยเราได้ในวันที่เราอ่อนแอ ในช่วงเวลาที่อ่อนแอ บางครั้งสิ่งที่เราต้องการมากที่สุดก็คือ ใครบางคนที่รักและห่วงใยเรา และไม่ว่าช่วงเวลานั้นจะยากลำบากสักแค่ไหน แต่เราก็ย่อมผ่านมันไปได้ ด้วยกำลังใจจากคนที่เรารัก


การเปรียบเทียบหนัง Inside Out  กับทฤษฎีเชาวน์ปัญญา
1.ทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget) 
   สิ่งที่สอดคล้องกับทฤษฎีของเพียเจต์ คือ เมื่อไรลีย์ลืมตาดูโลกและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ไรลีย์ก็สามารถมีความคิดที่ซับซ้อนและมีเหตุผลมากยิ่งขึ้นกว่าตอนเป็นเด็ก เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งการซึมซาบประสบการณ์และการตีความต่างๆ ตั้งแต่ตอนเด็กๆ ซึ่งตามทฤษฎีของเพียเจต์ก็มีการแบ่งพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กออกเป็นช่วงอายุ และแสดงให้เห็นว่าเมื่อเด็กเจริญเติบโตขึ้นก็จะมีพัฒนาการทางความคิดที่มากขึ้นและดีขึ้นเรื่อยๆ    
2.ทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner) 
   สิ่งที่สอดคล้องกับทฤษฎีของบรูเนอร์ คือ  ไรลีย์จะแสดงพัฒนาการทางสมองด้วยการกระทำ และดำเนินต่อไปเรื่อยๆตลอดชีวิต เป็นวิธีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยการจับต้อง เช่น ผลัก ดึง จับ การเล่นกีฬาของไรลีย์ นอกจากใช้ประสาทสัมผัสแล้วเด็กยังสามารถถ่ายทอดด้วยภาพในใจของเค้า เมื่อไรลีย์สามารถที่จะสร้างจินตนาการได้ เด็กก็สามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ในโลกได้
3.ทฤษฎีของออซูเบล (Ausubel) 
   สิ่งที่สอดคล้องกับทฤษฎีของออซูเบล คือ  ในตอนที่มีตัวการ์ตูนเป็นเสมือนคนดูแลทำความสะอาดในเรื่องของความทรงจำ ถ้าความทรงจำไหนไม่เป็นประโยชน์ก็จะถูกทิ้งลงถังขยะไป ก็เปรียบเสมือนคนเราตามทฤษฎีของออซูเบล ที่กล่าวว่า “ถ้าสิ่งนั้นไม่สร้างความหมายให้ต่อผู้เรียนสิ่งนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์”
4.ทฤษฎีของคลอสไมเออร์(Klausmeier) 
   สิ่งที่สอดคล้องกับทฤษฎีของคลอสไมเออร์ คือ ความทรงจำตอนแรกก็จะเก็บเป็นความทรงจำระยะสั้น หลังจากนั้น ถ้ามันเป็นสิ่งที่สำคัญต่อเราเราก็จะจำและจะเก็บเป็นความทรงจำระยะยาว เหมือนในหนัง ที่มีการเก็บความทรงจำของไรลีย์แทนลูกแก้วที่ใช้เก็บความทรงจำและเมื่อครบในแต่ละวันก็จะเอาไปเก็บเป็นความทรงจำระยะยาวต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น